หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

สืบค้นอ่านเพิ่มเติม

ฟอนต์หมายถึง    

    หมายถึง ตัวอักษรที่ต่างกันทั้งแบบและขนาด มีไว้ให้เลือกมากมายเพื่อให้เหมาะกับงานพิมพ์ประเภทต่าง ๆ เช่น ป้ายโฆษณา การพาดหัวข่าว งานพิมพ์เอกสารต่าง ๆ แบบอักษรแต่ละแบบจะมีชื่อ เพื่อให้สะดวกในการเรียกใช้

ระวัติtypography

     ตัวอักษร เรียกว่า character และถ้าหากตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนกันเป็นชุดเดียวกัน เรียกว่า font 
ที่เรารู้จักกันดี เช่น angsana UPC,arial, lily, cordia new, tahoma, เป็นต้น
     ประวัติความเป็นมาของสิ่งพิมพ์เริ่มขึ้นจากการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โลหะ โดย Johannes Gutenberg 
ในปีค.ศ. 1440 ซึ่งทำให้เกิดระบบการพิมพ์เป็นจำนวนมาก การออกแบบตัวอักษรจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่นั้นมา


ระบบการพิมพ์ของไทยนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและได้พัฒนามาเรื่อยๆด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำทันสมัยในทุกๆวันนี้เป็นเรื่องง่ายดายที่จะจัดทำพิมพ์สื่อต่างๆ 

เริ่มต้นที่
- พ.ศ.2205 สมัยกรุงศรีอยุธยา หลุยส์ ลาโน ( Louis Laneau) บาทหลวงสังฆราช ของคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสที่เข้ามาในประเทศไทยรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้แปล แต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางคริสต์ศาสนาเป็นภาษาไทยรวม 26  เล่ม หนังสือไวยากรณ์ไทยและบาลี 1 เล่มและพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม นอกจากนี้ยังสร้างศาลาเรียนขึ้นในที่พระราชทานที่ตำบล เกาะมหาพราหมณ์เหนือกรุงเก่าขึ้นไป และได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโรงเรียนนี้

- สมัยกรุงธนบุรี บาทหลวงคาทอลิก ชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนาและจัดตั้งโรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือที่วัดซันตาครูส ตำบลกุฏิจีน จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปี ค.ศ.1796 (พ.ศ.2339)

- พ.ศ.2356 มีการหล่อตัวพิมพ์เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนางจัดสัน ( Nancy Judson)   มิชชันนารีอเมริกัน ต่อมาแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ถูกนำไปเมืองกัลกัตตา

- พ.ศ.2384 หมอบรัดเลย์ (Dr.Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับ การยกย่องว่า “บิดาแห่งการพิมพ์ในประเทศไทย” ได้ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ไทยขึ้นใหม่ให้น่าอ่านกว่าเดิม


วันที่ 3 มิถุนายน 2379 บาทหลวงชาร์ล โรบินสัน ( Reverand Robinson) มิชชันนารีอเมริกัน ได้พิมพ์หนังสือ ขึ้นเป็นครั้งแรกในไทยจากแท่นพิมพ์ที่ทำด้วยไม้และแม่พิมพ์หิน หนังสือมี 8 หน้า เนื้อหาเกี่ยวกับบัญญัติ 10 ประการ (Ten Commandment)

- พ.ศ.2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างโรงพิมพ์มิชชันนารีอเมริกัน พิมพ์หมายประกาศห้ามสูบฝิ่นนับเป็นเอกสารทางราชการชิ้นแรกที่จัดพิมพ์ขึ้น

- วันที่ 4 กรกฎาคม 2387 มีการออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในเมืองไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) โดยขณะนั้นเรียกว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ

- วันที่ 15 มิถุนายน 2404 หมอบรัดเลย์ได้ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย และจัดพิมพ์ขายขึ้นเป็นครั้งแรกนับเป็นการเริ่มต้นของการซื้อขายลิขสิทธิ์และการพิมพ์ หนังสือเล่มออกจำหน่าย

- พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เริ่มต้นกิจการพิมพ์ของไทย เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏและผนวชที่วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ทรงดำริสั่งเครื่องพิมพ์มาตั้งที่ วัดบวรนิเวศวิหารและแกะตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะ ใช้พิมพ์หนังสือสอนศาสนา เช่น พระปาฏิโมกข์ หนังสือสวดมนต์ เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2394 หลังจากการขึ้นครองราชย์ทรงตั้งโรงพิมพ์หลวง ในพระบรมมหาราชวังขนานนามว่า   โรงพิมพ์อักษรพิมพการ และได้พิมพ์ผลงานชิ้นแรกออกมาชื่อ หนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ.2401

- พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเล่ม และช่างพิมพ์ไทยพยายามแก้ปัญหาแม่พิมพ์ โดยแกะแม่พิมพ์ไม้ขี้นใช้เอง

- พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ มากมาย กิจการพิมพ์ในยุคนี้เจริญก้าวหน้า มีความประณีต งดงามมากยิ่งขึ้นและโรงพิมพ์ขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามลำดับ

- การศึกษาทางการพิมพ์เริ่มขึ้นประมาณ พ.ศ.2476 ในระดับอาชีวศึกษาชั้นต้นชั้นปลายที่โรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช

- พ.ศ.2496 ได้มีการสอนวิชาการพิมพ์ที่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ ในแผนกวิชาช่างพิมพ์ทำการสอน ระดับอนุปริญญา


ส่วนประกอบของตัวอักษร (font anatomy)
     ปัจจุบันมีองค์กรที่เรียกว่า the international standard organization (ISO) ตั้งที่ Geneva ,Switzerland มีหน้าที่ กำหนดมาตรฐานของตัวอักษรที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ทั้งขนาด ลักษณะของตัวอักษรที่สามารถอ่านได้ง่าย ความสูงรายละเอียดต่างๆ
ตัวอักษรภายใต้ ISO เน้นประโยชน์ใช้สอยสามารถอ่านง่ายและใช้งานได้หลากหลาย

ตัวอักษรยังมีส่วนประกอบต่างมีชื่อเรียกเฉพาะให้เป็นที่เข้าใจกัน
ในกลุ่มนักออกแบบที่เรียกกันว่า "anatomy"

* หากคุณต้องการที่จะออกแบบตัวอักษร คุณต้องทำความเข้าใจส่วนประกอบต่างๆของตัวอักษรให้เข้าใจเสียก่อน


     การออกแบบ font 
   ต้องคำนึงถึงระยะต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งาน ซึ่งจะมีผลต่อการอ่าน และลักษณะเฉพาะของตัวอักษรนั้น ระยะที่ใช้ในการออกแบบ font มีหน่วยการวัดเป็น dpi (dot per inch) หมายถึงให้แบ่งย่อยระยะ 1 นิ้วออกเป็นช่องเล็กๆ ซึ่งถูกกำหนดว่า 72 dpi = 1 นิ้ว ซึ่งพัฒนาเป็นขนาดในการแสดงผลบน computer display และ web page ในเวลาต่อมา
ลักษณะการแบ่งระยะออกเป็นช่องย่อยๆจำนวน 72 ช่องต่อระยะ 1 นิ้ว

***นอกจากนี้ตัวอักษรยังมีระยะมาตรฐานต่างๆที่ต้องคำนึงและทำความเข้าใจก่อนการออกแบบ 
มี4 ระยะ ได้แก่ x- height, capline,topline, base line และ beardline
ประเภทและลักษณะfont

แบ่งออกเป็น

1.serif เป็น font ที่มีลักษณะทางการ พัฒนามาจากรูปแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ 
ลักษณะเด่นอยู่ที่หาง(serif)


2. san serif พัฒนาจาก serif ให้มีการลดทอนตัดส่วน serif ออกจนดูทันสมัย เรียบง่าย


3. script ตัวอักษรที่มีลักษณะเหมือนเขียนด้วยมือ เป็นลายมือลักษณะต่างๆกันไป 
ส่วนมากนิยมออกแบบให้ตัวอักษรมีลักษณะเอียงเล็กน้อย




4. display ตัวอักษรที่ออกแบบเฉพาะให้มีลักษณะแปลกตาเพื่อใช้ในการสร้างหัวโฆษณา ประกาศ 
ไม่เน้นนำไปใช้ในการพิมพ์บทความ หรือเนื้อหาจำนวนมาก





ลักษณะของ font (type face)


1. normal/regular ประเภทตัวธรรมดา
2. bold ประเภทตัวหนา
3. italic ประเภทตัวเอียง
4. extra ประเภทตัวหนาพิเศษ
5. light ประเภทตัวบางพิเศษ
6. extended ประเภทตัวกว้างพิเศษ
7 narrow ประเภทตัวแคบพิเศษ
8. outline ประเภทตัวอักษรแบบมีขอบ


ลักษณะของตัวอักษรไทย

1. แบบดั้งเดิม หรือแบบมีหัว เป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย แสดงความเป็นทางการ คล้าย serif ใช้ได้
กับทั้งส่วนหัวเรื่องและเนื้อเรื่อง
2. แบบหัวตัด คล้าย sanserif ดูเรียบง่ายใช้กับงานที่ดูทันสมัย
3. แบบลายมือ เลียนแบบตัวอักษรที่เขียนด้วยมือ เป็นอิสระ สนุกสนาน ไร้กฎเกณฑ์ เทียบได้กับตัวอักษรแบบscript
4. แบบคัดลายมือ เกิดจากการคัดลายมือด้วยตัวอักษรแบบโบราณที่มีหัวแหลม รู้สึกทางการ พิธีรีตรองแบบดั้งเดิมอนุรักษ์นิยม

5. แบบประดิษฐ์ คล้ายตักอักษรแบบ display ในภาษาอังกฤษ เป็นตัวอักษรใช้ในงานต่างๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ ให้ความรู้สึกหลากหลาย


การจัดวางหน้ากระดาษ(arranging)

1. flush left วางตัวอักษรเสมอซ้าย
2. flush right วางตัวอักษรเสมอขวา
3. centered วางตัวอักษรตรงกลาง
4. justified วางตัวอักษรเสมอซ้ายและขวา
5. contour วางตัวอักษรให้สอดคล้องลักษณะของภาพ
6. concrete วางตัวอักษรเป็นรูปร่างตามต้องการ
7. direction วางตัวอักษรแบบมีทิศทาง

วิธีเลือก Font ไปใช้ในงานออกแบบ

การเลือก Font ไปใช้ในงานออกแบบมีข้อควรคำนึงง่าย ๆ อยู่ 2 ข้อคือ
1.  ความหมายต้องเข้ากัน หมายความว่า ความหมายของคำและ Font  ที่เลือกใช้ควรจะไปด้วยกันได้ เช่น คำว่าน่ารักก็ควรจะใช้ Font ที่ดูน่ารักไปด้วย ไม่ควรใช้ Font ที่ดูเป็นทางการดังภาพตัวอย่าง

2.  อารมณ์ของฟอนต์ และอารมณ์ของงานต้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น งานที่ต้องการความน่าเชื่อถือก็จะเลือกใช้ Font แบบ Serif  ที่ดูหนักแน่น น่าเชื่อถือ ส่วนงานที่ต้องการความฉูดฉาดอย่างโปสเตอร์ลดราคาก็ควรจะเลือกใช้ Font ที่เป็นกันเองไม่เป็นทางการมากนักอย่าง Font ในกลุ่ม Script เป็นต้น

ภาพตัวอย่าง อารมณ์ของฟอนต์ และอารมณ์ของงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นอกจากการเลือก Font มาใช้งานแล้ว การวางตำแหน่งตัวอักษรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญกับการทำงาน สำหรับการวางตำแหน่งตัวอักษร มีข้อควรคำนึงถึงไว้ให้อยู่ 3 ข้อคือ
  1. ธรรมชาติการอ่านของคนไทยจะอ่านจากซ้ายไปขวา และบนลงล่าง โดยมีรัศมีการกวาดสายตาตามลำดับ ดังนั้นถ้าอยากให้อ่านง่าย ควรจะวางเรียงลำดับให้ดีด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการอ่านข้ามไปข้ามมาทำให้เสียความหมายของข้อความไป
  2. จุดเด่นควรจะมีเพียงจุดเดียว หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ มีตัวอักษรตัวใหญ่ๆ อยู่เพียงชุดเดียว จึงจะเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้ง่าย ไม่สับสน ส่วนจุดอื่น ๆ ขนาดควรจะเล็กลงมาตามลำดับความสำคัญ
  3. ไม่ควรใช้ Font หลากหลายรูปแบบเกินไป จะทำให้กลายเป็นงานที่อ่านยากและชวนปวดศรีษะมากกว่าชวนอ่าน ถ้าจำเป็นจริง ๆ แนะนำให้ใช้ Font เดิมแต่ไม่ตกแต่งพวกขนาด, ความหนาหรือกำหนดให้เอียงบ้าง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจไม่ให้งานดูน่าเบื่อแบบนี้จะดีกว่า











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น